การขับรถยนต์สิ่งที่ต้องเรียนรู้หรือศึกษาในคู่มือรถ ขาดไม่ได้คือ สัญลักษณ์หน้าปัดรถ บอกอะไรเราได้บ้าง? เมื่อมีรถแล้ว เราควรต้องรู้พวกเครื่องหมายต่างๆ บนหน้าปัดรถ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและผู้โดยสารในรถ วันนี้ บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด จะพามาดูหน้าตาสัญลักษณ์แต่ละอย่างบอกความหมายอะไรเราได้บ้าง สัญลักษณ์หน้าปัดรถ (Dashboard Warning Lights) บนหน้าปัดของรถยนต์มีหลายรูปแบบและสีต่าง ๆ เพื่อแจ้งเตือนสถานะหรือปัญหาต่าง ๆ ในรถยนต์ ต่อไปนี้คือบางตัวอย่างของสัญลักษณ์ทั่วไปที่อาจพบบนหน้าปัดรถ ไฟเตือนแบบวงกลมทรงสามเหลี่ยมมุมฉาก (ABS Light): แสดงว่าระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) มีปัญหา ไฟเตือนระบบล้อหลัง (Traction Control Light): แจ้งเตือนถึงปัญหาในระบบควบคุมการเกาะที่ล้อ ไฟเตือนล้อยาง (Tire Pressure Warning Light): แสดงถึงความดันลมในล้อไม่เพียงพอหรือมีปัญหาที่ล้อยาง ไฟเตือนแบบฟิวส์ (Battery Light): แสดงถึงปัญหาในระบบชาร์จแบตเตอรี่ ไฟเตือนระบบน้ำหล่อเย็น (Coolant Temperature Warning Light): แจ้งเตือนถึงการทำงานผิดปกติในระบบหล่อเย็น ไฟเตือนน้ำมันเครื่อง (Oil Pressure Warning Light): แสดงถึงปัญหาในระบบน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนปีก (Brake Warning Light): แจ้งเตือนถึงการทำงานผิดปกติในระบบเบรก ไฟเตือนล๊อกดอร์ (Door Ajar Warning Light): แสดงถึงมีประตูเปิดอยู่ ไฟเตือนลูกสูบ (Airbag Warning Light): แสดงถึงปัญหาในระบบลูกสูบ สัญลักษณ์หน้าปัดรถ (Dashboard Warning Lights) ไฟเครื่องยนต์ (Check Engine Light): สัญลักษณ์ที่แสดงถึงปัญหาในระบบเครื่องยนต์หรือระบบปรับอากาศ โดยสีหน้าปัดจะมีทั้งหมด 4 สี สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง สีเขียว – ผู้ขับขี่กำลังใช้ระบบนั้นๆ อยู่ เช่น ไฟเลี้ยว, ไฟขอทาง บอกสถานะรถของเราว่า มีอุปกรณ์ หรือระบบอะไรกำลังทำงานอยู่บ้าง สีเหลือง – สัญญาณการเตือน แต่รถก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ เช่น น้ำมันรถใกล้หมด บอกสถานะว่าอุปกรณ์ หรือระบบต่างๆ เริ่มมีปัญหาในการใช้งาน เราควรรีบตรวจสอบ และนำรถของเราไปเข้าอู่ หรือศูนย์ซ่อมโดยเร็ว สีแดง – อันตราย ต้องหยุดรถทันที ตรวจสอบหาความผิดปกติตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏตามหน้าปัดรถเป็นการเตือนว่าอุปกรณ์ หรือระบบรถของเรามีปัญหาแล้ว ต้องรีบหยุดรถ และซ่อมโดยด่วนหากแก้ไขเบื้องต้นเองไม่ได้ควรเรียกช่างมาซ่อมทันทีไม่ควรฝืนขับต่อไป 1.สัญลักษณ์ไฟสูง เป็นสัญลักษณ์ที่จะแสดงตอนเราเปิดไฟสูงหน้ารถ 2.สัญลักษณ์ไฟหรี่ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงเมื่อเราเปิดไฟหรี่หน้ารถ 3.สัญลักษณ์ไฟตัดหมอก เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงตอนเปิดใช้ระบบไฟตัดหมอกหน้ารถ 4.สัญลักษณ์ปั๊มน้ำมัน สัญลักษณ์เตือนว่าน้ำมันกำลังจะหมดให้รีบหาปั๊มเติมน้ำมันด่วนก่อนที่รถจะวิ่งต่อไปไม่ได้ 5.สัญลักษณ์เครื่องยนต์สีเหลือง สัญลักษณ์เครื่องยนต์สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์เตือนว่าเครื่องยนต์ของเรามีปัญหาควรรีบเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมเพื่อ ตรวจสอบและซ่อมแซมเครื่องยนต์ทันที 6.สัญลักษณ์กาน้ำมันเครื่องสีเหลือง สัญลักษณ์นี้จะแสดงต่อเมื่อระดับน้ำมันเครื่องต่ำ ควรตรวจสอบและเติมน้ำมันเครื่อง หากสัญลักษณ์นี้ยังไม่หายไป อาจเป็นเพราะมีการรั่วซึมจากการที่อุปกรณ์เสื่อมสภาพหรือซีนหมดอายุทำให้เกิดน้ำมันรั่วมาตามข้อต่ออุปกรณ์ ต่างๆเราควรรีบเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมทันที 7.สัญลักษณ์ไฟระบบป้องกันการลื่นไถล สัญลักษณ์นี้จะแสดงขึ้นเพื่อเปิดระบบป้องกันรถลื่นไถล และเตือนว่าถนนอยู่ในสภาพเปียกที่รถอาจลื่นไถลได้ โดยจะ หายไปเองเมื่อถนนแห้งเป็นปกติและเราสามารถกดปุ่มปิดระบบกันลื่นได้ 8.สัญลักษณ์เข็มขัดนิรภัย เป็นสัญลักษณ์เตือนก่อนออกรถว่ามีผู้โดยสารยังไม่คาดเข็มขัด แค่คาดเข็มขัดสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไป และรถบางรุ่นจะมีเสียงเตือนอีกด้วย 9.สัญลักษณ์กาน้ำมันเครื่องสีแดง หากสัญลักษณ์นี้แสดงขึ้นมาแปลว่าระบบน้ำมันเครื่องมีปัญหาควรให้นำรถเข้าข้างทาง และเรียกช่างหรือรถลาก นำรถเราไปซ่อมที่อู่หรือศูนย์ซ่อมทันที ห้ามขับต่อเด็ดขาด เพราะ อาจส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์รถของเรา 10.สัญลักษณ์ถุงลมนิรภัย เป็นสัญลักษณ์เตือนว่าถุงลมนิรภัยมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ ให้รีบเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมทันที แต่ถ้าถุงลมนิรภัยไม่ได้ มีปัญหาอะไรสัญลักษณ์ นี้จะขึ้นมาและหายไปเองเมื่อสตาร์ตรถ 11.สัญลักษณ์เตือนแบตเตอรี่สีแดง สัญลักษณ์นี้ค่อนข้างอันตราย เพราะรถอาจมีความเสียหายได้หลายส่วนควรหยุดวิ่ง และหาอู่หรือศูนย์ซ่อมที่อยู่แถว นั้นทันที หากไม่มีอู่หรือศูนย์ซ่อมเราต้องขับรถเข้าข้างทางและเรียกช่างมาซ่อมทันที ไม่ควรขับรถต่อ 12.สัญลักษณ์ไฟเบรกมือ เป็นสัญลักษณ์ที่จะแสดงเมื่อเราดึงเบรกมือขึ้น เพียงแค่เราเอาแบรดมือลงสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไปแล้ว แต่ถ้าเราเอา เบรกมือลงแล้วไฟยังติดอยู่ควรนำเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมทันทีเพราะอาจจะมีปัญหาที่น้ำมันเบรกหรือส่วนอื่นๆ ก็ได้ 13.สัญลักษณ์ไฟ ABS โดยปกติแล้วสัญลักษณ์ไฟ ABS จะติดตอนสตาร์แล้วดับไป แต่ถ้าหากสัญลักษณ์ไฟ ABS ยังค้างอยู่แปลว่าตัวเบรก มีปัญหาไม่สามารถป้องกันการเบรกล้อล็อคได้ ควรขับช้าๆห้ามเหยียบเบรกรุนแรงและหาอู่ศูนย์ซ่อมหรือเรียกช่างมา ซ่อมแซมทันที เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการเบรกล้อล็อกได้ 14.สัญลักษณ์เปิดประตูรถ สัญลักษณ์นี้แสดงว่ารถปิดประตูไม่สนิท แค่ปิดประตูให้สนิทสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไป แต่ถ้าสัญลักษณ์ไฟยังค้าง อาจจะเป็นปัญหาที่สายไฟควรเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อม แต่ปัญหานี้ไม่ร้ายแรงมากสามารถขับต่อไปได้ 15.สัญลักษณ์ไฟเตือนอุณหภูมิหม้อน้ำรถ สัญลักษณ์อุณหภูมิสีแดง ถือว่าอันตรายมาก เพราะถ้าอุณหภูมิสูงมากเกินไปหม้อน้ำอาจระเบิดได้ ควรจอดรถข้างทางและเรียกช่างมาทันทีไม่ควรฝืนขับต่อไปแม้อุณหภูมิจะลดลงแล้วก็ตาม สัญลักษณ์อุณหภูมิสีฟ้า เป็นสัญลักษณ์ไม่อันตรายอะไรเพียงแค่หม้อน้ำรถเย็นเกินไปอาจทำให้สตาร์ตไม่ติด แค่บิดกุญแจและลองสตาร์ทิ้งไว้สักพักให้รถมีอุณหภูมิ 60 องศาขึ้นไป สัญลักษณ์ก็จะหายไปเอง หากเห็นสัญลักษณ์ใด ๆ ที่เปิดไฟขึ้นบนหน้าปัดรถ ควรตรวจสอบคู่มือในรถหรือนัดหรือติดต่อศูนย์บริการของผู้ผลิตรถเพื่อทำการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การปฏิเสธการแก้ไขปัญหาที่แสดงในสัญลักษณ์อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการขับขี่และทำให้เสียหายมากขึ้น
1427 26 เม.ย. 2568, 18:16ความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ Losses resulting from accidents หากเราจะกล่าวถึงคำว่า “ อุบัติเหตุ ” ย่อมหนีไม่พ้นการก่อให้เกิดความสูญเสีย ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง นอกจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย เสียชีวิต หรือแม้แต่ทรัพย์สินเสียหาย อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่เกิดความเสียหายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ยังรวมไปถึงการสูญเสียเวลาในการที่จะต้องหยุดการผลิต และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือแม้แต่เสียภาพพจน์ของบริษัท การเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแม้แต่น้อย แต่เราจะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุในการทำงานมักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผลลัพธ์ของอุบัติเหตุนั้นจะมีการสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด จะพาทุกท่านเรียนรู้และป้องกันความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุกันค่ะ การสูญเสียทางตรง (Direct Loss) จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นค่าเสียหายที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด ได้แก่ 1.ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เมื่อพนักงานเกิดอุบัติเหตุขึ้น 2.ค่าประกันชีวิต หากพนักงานเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทจำเป็นต้องจ่ายพนักงานเหล่านี้ 3.ค่าทดแทนจากการได้รับบาดเจ็บ ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ การสูญเสียทางอ้อม (Indirect Loss) หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะคำนวณเป็นตัวเงินได้) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง ได้แก่ 1.การสูญเสียเวลาในการทำงานของ 1.1 คนงานหรือผู้บาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล 1.2 คนงานอื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล หรือนำส่งโรงพยาบาล อยากรู้อยากเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ ความตื่นตกใจ 1.3 หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา เนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ สอบสวน หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ บันทึกและจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุ จัดหาคนงานอื่นและฝึกสอนให้เข้าทำงานแทนผู้บาดเจ็บ หาวิธีแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดซ้ำอีก 2.ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย 2.1 วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องทิ้ง ทำลายหรือขายเป็นเศษ 2.2 ผลผลิตลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตขัดข้อง ต้องหยุดชะงัก 2.3 ค่าสวัสดิการต่างๆของผู้บาดเจ็บ 2.4 ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บซึ่งโรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าผู้บาดเจ็บจะทำงานยังไม่ได้เต็มที่หรือต้องหยุดงาน 2.5 การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร เพราะผลผลิตลดลงจากการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต และการเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด 2.6 ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และโสหุ้ยต่างๆที่โรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าโรงงานจะต้องหยุดหรือปิดกิจการหลายวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง 2.7 การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงานนอกจากนี้ผู้บาดเจ็บจนถึงขั้นพิการหรือทุพพลภาพ จะกลายเป็นภาระสังคมซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย ความสูญเสียทางอ้อมจึงมีค่ามหาศาลกว่าความสูญเสียทางตรงมาก ซึ่งปกติเรามักจะคิดไม่ถึงในส่วนตรงนี้ จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายของการเกิดอุบัติเหตุเปรียบเสมือน “ภูเขาน้ำแข็ง” ส่วนที่โผล่พ้นน้ำให้มองเห็นมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ ในทำนองเดียวกันค่าใช้จ่ายทางตรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเป็นเพียงส่วนน้อยของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดซึ่งผู้บริหารโรงงานจะมองข้ามมิได้การเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากทั้งต่อชีวิตของคนทำงาน และทรัพย์สินทั้งที่คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัดเจนที่เป็นค่าใช้จ่ายแฝงในรูปต่างๆ จากความสูญเสียทางตรง และความสูญเสียทางอ้อมนี้สามารถใช้เป็น เครื่องมือสำคัญให้กับเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงาน เพื่อชี้ให้เจ้าของสถาน ประกอบการมองงานด้านอาชีว อนามัย ความปลอดภัยและสภาพ แวดล้อมในการทำงานเป็นการลงทุน ไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียไปแล้วไม่เกิดประโยชน์กับองค์กร รวมทั้งชี้ให้เจ้าของ สถานประกอบการเห็นว่าการลงทุนด้านความปลอดภัยนั้นมี ความคุ้มค่า เพราะถ้าสถานประกอบการไม่เกิดอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน สถานประกอบการก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความสูญเสียโดยตรงและความสูญเสียทางอ้อม ดังนั้นการทำงานที่ปลอดภัยในโรงงานจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการบริหารงานในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า แนวทางการป้องกัน 1.การฝึกอบรมพนักงานทุกคนให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงานที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ 2.การจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อช่วยลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น 3.การจัดอบรมด้านความปลอดภัยสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงมาตรการด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอันตรายจากเรื่องต่างๆ
6313 26 เม.ย. 2568, 16:33การจอดรถอาจเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับบางคน เพราะต้องใช้ทักษะและความรอบคอบในการควบคุมรถในพื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังต้องรักษาความปลอดภัย และเป็นมืออาชีพต่อผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ ดังนั้น เทคนิคการจอดรถอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่จะศึกษาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่หัดขับรถยนต์ จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น กลัว ๆ กล้า ๆ ไม่มั่นใจ ในการขับรถเพื่อจอด เข้าซอง ถอยหลัง ไหนจะต้องเต็มไปด้วยความรู้สึก กดดันว่ารถคันข้างหลังจะด่าเราไหม กดดันเวลาเมื่อเจอคันหลัง รอนานในการเข้าจอด หรือจะถอยโดนรถคนอื่นหรือเปล่า ถึงแม้หลายคนก่อนขับรถ จะผ่านการสอบขออนุญาต ใบขับขี่ ในขั้นตอนการสอบปฏิบัติมาแล้ว ในท่าของการจอดเทียบทางเท้า ท่าการถอยเข้าซอง แต่การสอบกับในชีวิตจริงไม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ ถ้าเราขับรถไปสักระยะหนึ่ง มันจะค่อยๆ สร้างความมั่นใจและลดความกังวล ทางบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด จึงมาแนะนำและรวบรวมเทคนิคไว้ให้มือใหม่หัดขับ การจอดรถ ในแบบง่ายๆ กัน 1.วิธีการถอยหลัง อยากให้ท้ายรถเราหันไปทางใด ให้หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น เช่น ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปทางซ้าย ให้หมุนพวงมาลัยไปทางด้านซ้าย เป็นต้น ควรเปิดสัญญาณไฟช่วย หากต้องถอยหลังในบริเวณที่การจราจรแออัด ตรวจสอบด้านท้ายรถก่อนทุกครั้ง และค่อยๆ ถอยรถช้าๆ คำนึงถึงขนาดของรถ ขนาดช่องว่างพื้นที่ และช่องว่างที่เหลือเพื่อการหักเลี้ยว ถอยรถตอนกลางคืน การแตะเบรกช่วย แสงไฟท้าย จะช่วยให้เราประเมินรัศมีการถอยได้ ถอยจอดรถชิดเกินไป แสงไฟท้ายจะหรี่/มองไม่เห็นแสง หากแสงไฟจ้า แสดงว่ายังถอยได้อีก 2.วิธีจอดรถเข้าซองตรง ขั้นตอน 1 จอดรถเลียบเป็นแนวตรงไปกับที่จอดรถ ตีโค้งเข้าหาที่จอดแล้วบิดพวงมาลัยไปทางขวา สไลด์รถเฉียงประมาณ 30 องศา ตามลูกศร ขั้นตอน 2 หักพวงมาลัยไปซ้ายสุดและค่อยๆ ถอยหลังเข้าซองจนขนานไปกับเส้นเทียบ เสร็จแล้วคืนพวงมาลัยให้ล้อตรง 3.จอดรถเข้าซองเฉียง ขั้นตอน 1 จอดรถเลียบเป็นแนวตรง เดินหน้าไปถึงเส้นขีดด้านหน้า และบิดพวงมาลัยขวา ตีล้อโค้งให้รถขนานไปกับเส้นจอดรถแนวเฉียงทั้งคันรถ ขั้นตอน 2 บิดล้อตรง ค่อยๆ ถอยหลังให้รถเข้าไปในซองจนสุด 4.จอดรถเทียบฟุตบาท (ท่าสอบภาคปฏิบัติใบขับขี่รถยนต์) ขั้นตอน 1 จอดรถขนาบกับคันหน้า ระยะห่างจากตัวรถประมาณ 2 ฟุต โดยให้ท้ายรถอยู่ในระดับเดียวกัน ขั้นตอน 2 หักพวงมาลัยให้สุด และค่อยๆ ถอยรถเข้าซองด้านข้าง จนรถทำมุมแนวเฉียง 45 องศาพอดีกับซอง ขั้นตอน 3 บิดล้อตรงแล้วถอยหลังเข้าซองไปและบิดพวงมาลัยไปขวาสุด จากนั้นค่อยๆ ถอยต่อจนท้ายรถชิดเส้นด้านหลัง ขั้นตอน 4 ถอยรถจนกระทั่งด้านของรถเราอยู่ในระดับเดียวกันกับท้ายรถคันหน้า เมื่อเข้าที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งล้อตรง ข้อมูลจาก : สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
674 25 เม.ย. 2568, 15:21รถบรรทุก เป็นหัวใจสำคัญในระบบอุตสาหกรรมของวงการ ขนส่งทางบก และในระบบโลจิสติกส์ที่มีส่วนสำคัญมาก เพราะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะขนส่งทางบก ถือว่าผู้ประกอบการนิยมเลือกมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น 4 ล้อ 6 ล้อ 10 ล้อ 12 ล้อ หรือ 18 ล้อ เป็นการขนส่งที่ สะดวก รวดเร็ว สามารถขนส่งได้ในปริมาณมาก และตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไร การขับรถบรรทุกนั้นต้องการทักษะและความระมัดระวังมาก เนื่องจากรถบรรทุกมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ด้วยขนาดและความยาวของตัวรถ การจะขับรถบรรทุกได้อย่างมืออาชีพจึงไม่ใช่เรื่องง่าย คนขับรถบรรทุกต้องมีความรู้และทักษะ ความชำนาญ ที่เพียงพอในการดูแลและควบคุมรถให้ปลอดภัยทั้งในทางขับขี่และในกระบวนการขนส่งสินค้า บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จึงนำเกร็ดสาระน่ารู้ มาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกเส้นทางเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวกและปลอดภัย 1.ตรวจสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ การตรวจสภาพรถก่อนการเริ่มต้นเดินทางทุกครั้งเป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้ขับรถบรรทุกได้อย่างปลอดภัย มั่นใจว่าทุกส่วน มีสภาพดีและพร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบยางรถทุกเส้น ทดสอบระบบเบรก ทดสอบระบบไฟ เช็กไฟสัญญาณ แตร ที่ปัดน้ำฝน น้ำมันเครื่อง และอุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ปรับกระจกตรวจทั้งหมดเพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน หากมีการขับรถขนส่งสินค้า อย่าลืมที่จะตรวจเช็กรักษาความปลอดภัยของสินค้าให้มั่นใจ ว่าใช้สายผูกหรืออุปกรณ์ล็อกอย่างแน่นหนา ทุกครั้งที่บรรทุกของอย่าลืมตรวจความเรียบร้อยของสิ่งของที่บรรทุก ต้องมีผ้าคลุมแน่นหนา และมีอุปกรณ์ล็อกเพื่อความปลอดภัย ผ้าใบคลุมจะต้องใช้ผ้าใบสีทึบ และยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่ไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก หรือรถกระบะก็ตาม หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์อีกด้วยเพิ่มความปลอดภัยโดยการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง แผ่นสะท้อนแสง จะทำหน้าที่สะท้อนแสง กับไฟหน้าของรถคันอื่นๆ เพื่อช่วยในการมองเห็น ขณะขับรถบรรทุกในตอนกลางคืน เพิ่มความปลอดภัย โดยรถบรรทุกทุกคัน จะต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงให้ถูกตำแหน่ง และส่วนที่สำคัญอีกเรื่อง กฎหมายรถบรรทุกที่เกี่ยวกับน้ำหนักของการบรรทุก และปริมาณน้ำหนักที่กำหนด ซึ่งหากฝ่าฝืน บรรทุกเกินน้ำหนักที่กำหนดไว้จะมีโทษทางกฎหมาย ให้จำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน 2.ตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่ สิ่งสำคัญของการขับรถไม่ว่าจะขับรถประเภทไหนก็ตามจำเป็นที่สุดต้องมีใบขับขี่เพื่อเป็นไปตามข้อกฎหมาย กรมขนส่งทางบก ซึ่งจะออกให้กับบุคคลที่ผ่านการอบรมและสอบภาค ทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร ป้ายจราจร และแนวทางในการขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย โดยทุกคนต้องผ่านการทดสอบข้อเขียนและการสอบขับรถภาคปฏิบัติ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเรานั้น มีความสามารถมากพอในการขับรถบรรทุกตามที่มาตรฐานกำหนด เพื่อผู้ขับขี่รถจะขับขี่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ที่ใช้รถ ใช้ถนนคนอื่นๆได้ และสำหรับผู้ขับรถบรรทุกต้องมีใบขับขี่ ท.2 ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตการขับขี่ที่สามารถขับรถได้ทุกประเภทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถใช้ขับรถได้ทั้งรถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ เช่น รถบรรทุกหกล้อ รถตู้ รถเก๋ง กระบะ หรือรถประเภทอื่นๆ เพื่อประกอบธุรกิจขนส่งในอุตสาหกรรมต่าง สำหรับรถสาธารณะป้ายทะเบียนสีเหลือง จะเป็นใบอนุญาตการขับขี่เพื่อการขนส่งทุกประเภทที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ 3.รักษาระยะห่าง ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงการรักษาระยะห่างระหว่างยานพาหนะคันอื่นๆ จงจำไว้ว่า ยิ่งผู้ขับขี่ขับรถมีระยะห่างระหว่างรถของเรากับยานพาหนะคันอื่น ๆ มากเท่าไหร่ผู้ขับขี่ก็จะยิ่งมีเวลาในการมองเห็น สังเกต ตัดสินใจ และตอบสนองต่ออันตรายที่เกิดขึ้น ขณะขับขี่มากขึ้นเท่านั้น เคล็ดลับการรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย รักษาระยะห่างระหว่างรถของเราและยานพาหนะคันอื่นๆ (ด้านหน้า ด้านข้างและ ด้านหลัง) กะระยะช่องว่างที่ปลอดภัย ควบคุมความเร็วให้เหมาะสม (ปรับความเร็วให้เหมาะสมกับสถานการณ์เมื่อผู้ขับขี่เข้าใกล้สถานที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอันตราย) การรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าควรเว้นอย่างน้อย 3-6 วินาที ยิ่งในกรณีที่รถบรรทุก บรรทุกของหนักจากน้ำหนักสิ่งของที่บรรทุกมาด้านหลังทำให้รถเกิดแรงส่งค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องมีระยะห่างจากการเบรกที่เพียงพอ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุกรณีเบรกกะทันหัน ดังนั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับการตรวจสอบระบบเบรก และบรรทุกน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนดที่ทาง บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว 4. เลือกเส้นทางที่เหมาะสม มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS เลือกเส้นทางที่เหมาะสมและปลอดภัยโดยติดตั้ง GPS จุดประสงค์การติด GPS เพื่อทราบถึงข้อมูลจราจรปัจจุบัน ข้อมูลสภาพถนน และข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการขับขี่คือสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือบุคคลทั่วไปสามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถได้ แบบเรียลไทม์ (Real time) เช่น ความเร็วที่ใช้ เส้นทางที่ใช้ ระยะทาง ตำแหน่งที่รถวิ่งอยู่ ชั่วโมงการขับขี่รถและการจอดพักรถ ฯลฯ ปัจจุบันการติดตั้ง GPS เป็นการบังคับใช้จากกรมการขนส่งทางบกโดยมีการกำหนดให้ รถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทุกคันจะต้องติดตั้งด้วยระบบ GPS เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล กับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่ เช่น การใช้ความเร็วในการขับขี่, เวลาในการเดินรถ รวมถึงพิกัดของตัวรถ หากไม่ติดตั้ง หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้ การใช้ข้อมูลจาก GPS ของรถที่ได้ จะทำให้ผู้ประกอบการรถสาธารณะสามารถนำไปบริหารการเดินรถหรือขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น วางแผนกำหนดระยะทางวิ่งรถให้สั้นลง เพื่อประหยัดน้ำมัน ลดต้นทุนการขนส่ง พัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ลดการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม GPS ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการขับขี่ สร้างพฤติกรรมการขับขี่ที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ 5. จุดบอดของรถบรรทุก สิ่งที่ควรคำนึงและข้อควร ระมัดระวัง 4 จุดบอดของรถบรรทุก อันตรายที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยให้ตัวเรา และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ใกล้พื้นที่จุดบอดรถบรรทุกในทุกกรณีเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย จุดที่ 1 ด้านหน้าของรถบรรทุก สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ “การเว้นระยะปลอดภัย เผื่อระยะเบรกของรถบรรทุก” ไม่ควรขับรถอยู่พื้นที่ด้านหน้าในระยะประชิด หากอยู่ในระยะประชิด ผู้ขับรถบรรทุกอาจมองไม่เห็นรถด้านหน้า เนื่องจากความสูงของตัวรถ อาจบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น เราจึงควรหลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงการขับรถที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของรถบรรทุก และผู้ขับขี่รถบรรทุกจึงควรเว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้า 3-4 ช่วงคันของรถยนต์เพื่อช่วยในการมองเห็นในระยะที่เหมาะสม จุดที่ 2 ด้านขวาของรถบรรทุก จุดนี้คนขับรถบรรทุกจะไม่สามารถมองเห็นรถที่วิ่งขนาบข้างด้านขวาได้เนื่องจากความสูงของตัวรถบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น โดยผู้ขับรถบรรทุกจะเห็นก็ต่อเมื่ออยู่ในรัศมีของกระจกมองข้างเมื่อรถบรรทุกต้องการเลี้ยวเปลี่ยนช่องทาง และมองไม่เห็นรถของเราในจุดนี้ ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เราขับรถให้เลยหน้าเขาหรือเทียบเท่าหน้ารถ เพื่อช่วยในการมองเห็นให้ชัดเจนและลดอุบัติเหตุได้ จุดที่ 3 ด้านซ้ายของรถบรรทุก จุดนี้ถือว่าเป็นด้านหรือ พื้นที่อันตรายที่สุด เพราะเป็นมุมมองที่คนขับรถบรรทุกมีทัศนวิสัยแคบมาก ด้วยระยะของกระจกมองข้างด้านซ้ายที่อยู่ห่างกับตัวคนขับรถ ควรหลีกเลี่ยงการขับรถขึ้นมาชิดบริเวณพื้นที่ในจุดนี้ ดังนั้นผู้ใช้รถใช้ถนนจึงควรระมัดระวังให้มาก หากมีคนขับรถอยู่พื้นที่ส่วนนี้ให้รีบแซงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว หรือเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถขึ้นมาชิดบริเวณพื้นที่ในจุดนี้ จุดที่ 4 ด้านหลังของรถบรรทุก ไม่ควรขับรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ตามหลังบรรทุก เพราะเป็นจุดที่คนขับรถบรรทุกก็จะไม่เห็นด้านหลัง อีกทั้งยังมีสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์อยู่ด้านหลัง ทำให้ความสามารถการมอง “ กระจกมองหลังไม่สามารถมองเห็นด้านหลังของรถได้ ” ดังนั้นผู้ที่ขับรถตามหลังรถบรรทุกจึงควรเว้นระยะห่างของรถไว้อย่างน้อย 20-25 คันของระยะรถ เพื่อระยะความปลอดภัย เผื่อมีการเบรกกะทันหัน และการถอยหลังของรถบรรทุก นี่คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ บางส่วนที่ทาง บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด มาแนะนำ ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือแม้แต่ผู้ขับขี่ก็ไม่ควรมองข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียและลดการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตตนเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน
1647 26 เม.ย. 2568, 17:12สำหรับใครที่ใช้รถยนต์เป็นประจำทั้งคุณผู้หญิง คุณผู้ชาย อาจมองว่าการซ่อมรถ บำรุงดูแลรักษารถเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะทำได้ แต่ถ้าเราตั้งใจจะเรียนรู้ศึกษาพื้นฐานจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เกินความตั้งใจของเราได้ เพราะการดูแลรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้รถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด วันนี้ บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะมาแนะนำเคล็ดลับการดูแลรถยนต์ที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรถของเรา ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่ป้ายแดง หรือรถยนต์มือสอง วิธีบำรุงรักษารถให้เบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งบนโลกออนไลน์ในยุคสมัยนี้ มีข้อมูลสารพัดประโยชน์ของรถหลากหลายยี่ห้อและรุ่นต่าง ๆ เกือบทั้งหมด ไม่ว่าเรา จะสงสัย สนใจอะไร เราก็สามารถหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายผ่าน YouTube หรือ Facebook จากเหล่าคนรักรถ ผู้รู้ที่ ใช้รถตัวจริงที่มาแนะนำแบ่งปันเทคนิค มีรถมากหน้าหลายตา ที่มาแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พร้อมบอกทุกเทคนิคและปัญหาของรถแต่ละรุ่นของพวกเขาเหล่านั้น การบำรุงรักษารถยนต์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้รถของเรา ทำงานได้ดีตลอดเวลาและเป็นการยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และนี่ก็คือบางส่วนที่สามารถช่วยในการบำรุงรักษารถยนต์ของเราให้มีการใช้งานมากขึ้น แถมยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆอีกด้วย 1.การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแนะนำทุก 5,000 ถึง 10,000 กิโลเมตรหรือ 3 ถึง 6 เดือน การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการบำรุงรักษารถยนต์ในสภาพที่ดี น้ำมันเครื่องช่วยในการลดการเสียหายของเครื่องยนต์และช่วยให้ระบบหล่อเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2.การเปลี่ยนฟิลเตอร์ เปลี่ยนฟิลเตอร์อากาศ, ฟิลเตอร์น้ำมัน, และฟิลเตอร์เชื้อเพลิงตามคำแนะนำจากผู้ผลิต การทำเช่นนี้จะช่วยให้รถมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 3.การตรวจสอบและเปลี่ยนสายพาน การตรวจเช็กสายพานในรถยนต์เป็นส่วนสำคัญเพื่อให้รถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สูงสุด ซึ่งสายพานมีบทบาทสำคัญในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของรถ เช่น ส่งกำลังไปยังระบบหน่วยปรับอากาศ (A/C), ปั๊มน้ำ, หรือหน่วยปรับแรงเทียน (Power Steering) 4. การเช็กและปรับลมยาง การรักษาและปรับความดันลมในยางให้ถูกต้องตามคำแนะนำที่ระบุในคู่มือรถ ยางที่ดีจะช่วยให้ควบคุมรถยนต์ได้ดีและป้องกันการสูญเสียการดูดซับน้ำมัน ควรเช็กและเติมลมทุกวันหรืออย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ การดูแลลมยางเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาประสิทธิภาพขับขี่และความปลอดภัยของรถเรา ซึ้งรถยนต์แต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการเช็กและเปลี่ยนลมยาง ดังนั้น ควรตรวจสอบคู่มือการใช้งานหรือคู่มือรถของเรา เพื่อข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับรถแต่ละรุ่น 5. การเช็กระบบเบรกรถยนต์ ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก (Brake Fluid) เปิดฝาที่จะเก็บน้ำมันเบรก และตรวจสอบระดับน้ำมัน ในกรณีที่ระดับต่ำเกินไป ควรเติมน้ำมันเบรกทันที ใช้น้ำมันที่ถูกต้องตามคำแนะนำในคู่มือของรถแต่ละรุ่น ตรวจสอบที่รั่ว (Check for Leaks) ตรวจสอบบริเวณใต้รถหรือในที่จอดรถเพื่อตรวจหาการรั่วของน้ำมันเบรก หากพบการรั่ว ควรนำรถไปที่อู่เพื่อตรวจเช็กและซ่อมแซม ตรวจสอบผ้าเบรก (Check Brake Pads) ผ้าเบรกหน้าและหลัง ถ้าผ้าเบรกมีความหลุดหรือบางมาก หรือหากมีเสียงสะท้อนเมื่อใช้เบรก อาจต้องเปลี่ยนผ้าเบรก เพื่อความปลอดภัยในการใช้เบรก ตรวจสอบจานเบรก (Check Brake Discs/Rotors) สภาพจานเบรกหน้าและหลัง ถ้ามีรอยแตกร้าวหรือไม่สม่ำเสมอ อาจต้องทำการเจาะหรือเปลี่ยนจานเบรก ตรวจสอบระบบ ABS (Anti-lock Braking System) ทดสอบระบบ ABS โดยให้รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ และทดสอบการใช้เบรก ถ้ามีปัญหาในระบบ ABS ควรนำรถไปซ่อมที่อู่ ทดสอบเบรก (Test the Brakes) ทดสอบระบบเบรกโดยทำการเบรกเบา ๆ และเบรกแรง ๆ เพื่อตรวจสอบความทำงานของระบบ ถ้ามีปัญหา ควรนำรถไปที่อู่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย 6. การดูแลรักษาแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์เพราะทำหน้าที่เก็บและสำรองกระแสไฟก่อนนำจ่ายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์ ขณะสตาร์ทและยังไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ เช่น ระบบการจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้ ระบบไฟส่องสว่างภายในรถระหว่างที่ยังไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนั้นเราต้องมีการหมั่น ตรวจสอบระดับน้ำ elektrolyte ในแบตเตอรี่ และทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ ระบบชาร์จที่สมบูรณ์จะช่วยให้รักษารถยนต์ของเรา ได้มีประสิทธิภาพที่ดี 7. การล้างรถ การล้างรถถือเป็นวิธีการ ดูแลรถเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้เอง นอกจากจะเป็นการทำความสะอาดขจัดสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนตัวรถออกไปแล้ว ยังทำให้รถของเราแลดูใหม่ สีไม่ซีด ไม่มีสนิมเกาะ แถมการล้างรถยังเป็นการตรวจเช็กสภาพรถทั้งภายในและภายนอก เช่น รอยขีดข่วนหรือร่องรอยสนิมที่อาจเกิดขึ้นบนผิวรถของเราอีกด้วย 8. เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ แผ่นกรองอากาศเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นหรือดักจับสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาภายในรถยนต์ โดยเฉพาะบ้านเราเป็นเมืองร้อน และมีฝุ่น PM ค่อนข้างสูงขึ้นในทุกๆปี หากไม่หมั่นตรวจเช็กให้แผ่นกรองอากาศสะอาดอยู่เสมอ อาจทำให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันแผ่นกรองอากาศยังส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากกว่าปกติอีกด้วย 9. ใบปัดน้ำฝน ที่ปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่ ของเราดีขึ้นเมื่อต้องขับรถตอนฝนตกหนัก หรือเผชิญสภาพอากาศหนาวจัดหมอกลง ถ้าเช็กแล้วพบว่าที่ปัดน้ำฝนของเรา ไม่สามารถปัดน้ำบนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนก่อน หรือทิ้งคราบน้ำไว้บนกระจกรถ นั่นแสดงว่าใบปัดน้ำฝนของเรา เริ่มเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อความปลอดภัยเวลา ขับรถช่วงหน้าฝน 9 วิธีแสนง่ายกับการดูแลรักษารถยนต์ นอกจากจะเห็นถึงประโยชน์ของการบำรุงรักษารถยนต์ที่ช่วยยืดอายุให้รถอยู่คู่กับเราไปนาน ๆ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถ อีกทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถแต่ละครั้งถ้าเราหมั่นตรวจสอบและดูแลอย่างเป็นประจำ
815 26 เม.ย. 2568, 09:17