บทความและความรู้


มอไซค์ล้ม ไม่มีคู่กรณี เบิก พ.ร.บ. ได้ไหม?

มอไซค์ล้ม  ไม่มีคู่กรณี เบิก พ.ร.บ.  ได้ไหม?         เมื่ออุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ แม้ว่าเราจะระวังแค่ไหนก็ตาม ก็อาจมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเราได้ เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ชนฟุตบาท หรือรถมอเตอร์ไซค์เสียหลักลื่นล้มจนได้รับบาดเจ็บ แล้วถ้าหากรถล้มแบบไม่มีคู่ กรณี จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม? ANC มีคำตอบ!   ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถล้มเอง หรือ รถเสียหลักชนกับสิ่งกีดขวาง จนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากรถมอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ ผู้ประสบจากรถมอเตอร์ไซค์คันนั้น รวมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” เท่านั้น     ค่าเสียหายเบื้องต้น 1. กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท 2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ สามารถเบิกค่าชดเชยได้คนละ 35,000 บาท (หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี สามารถเบิกรวมกันไม่เกินคนละ 65,000 บาท) ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ (อุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี) ค่ารักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย 2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)  ค่าทดแทนสินไหม กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย 2. ใบรับรองแพทย์ 3. หนังสือรับรองคนพิการ 4. สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์  ค่าทดแทนสินไหม กรณีเสียชีวิต 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย 2. ใบมรณบัตรของผู้ประสบภัย 3. สำเนาบัตรปชช และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม 4. สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐาน ที่แสดงว่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะเห็นได้ว่าการมี พ.ร.บ. นั่น เป็นประโยชน์มาก นอกจากบรรเทาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วนั้น ต่อให้เมื่อเกิดเหตุจะมีคู่กรณี หรือ ไม่มีคู่กรณีก็ตาม พ.ร.บ. ก็ยังคงคุ้มครอง แต่ พ.ร.บ ต้องห้ามอายุเด็ดขาด เพราะจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จาก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เลยค่ะ   ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.prakun.com/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

250 25 เม.ย. 2568, 10:18

พ.ร.บ. รถยนต์ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องต่อทุกปี

พ.ร.บ. รถยนต์ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องต่อทุกปี               สำหรับคนที่มีรถยนต์ย่อมต้องคุ้นเคยกับคำว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ขณะที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไรกันแน่ และทำไมเมื่อครบกำหนดต้องไปเดินเรื่องเพื่อต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กันทุกปี แล้วถ้าไม่ต่อล่ะ...จะมีปัญหาอะไรหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบ   ทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. รถยนต์             คำว่า พ.ร.บ. นั้นย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ ก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้เป็นหลักประกันให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับความคุ้มครองหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนด นั่นเอง                  พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง             พ.ร.บ. รถยนต์นั้น เป็น พ.ร.บ. ที่ให้ความคุ้มครองแก่ “ผู้ใช้รถใช้ถนน” ซึ่งอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ “คุ้มครองคน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ “ไม่ได้คุ้มครองรถ” ด้วย ขยายความได้อีกนิดก็คือ หาก “คนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต” จากอุบัติเหตุต่างๆ จะได้รับเงินชดเชยตามที่ พ.ร.บ. รถยนต์กำหนดเอาไว้ แต่จะไม่ได้รับ “ค่าซ่อมรถ” ที่เสียหาย และความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นครอบคลุมทั้งเจ้าของรถและบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ “จ่ายค่าเสียหายให้แก่ทุกฝ่ายทันทีโดยไม่ต้องสืบหาว่าใครเป็นฝ่ายผิด”   วงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์นั้น มีดังนี้ 1. สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ดังนี้ ค่ารักษาพยาบาลในกรณีได้รับบาดเจ็บ จ่ายให้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท หากต่อมาพิการหรือทุพพลภาพ จะจ่ายให้เพิ่ม แต่รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ จ่ายให้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิต หากเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ จะจ่ายค่าทำศพให้ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตภายหลังจะจ่ายแบบเหมารวมกับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน   2. สำหรับค่าเสียหายส่วนเกิน ซึ่งจะมีการจ่ายชดเชยหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว บริษัทประกันของฝ่ายที่กระทำผิดจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ดังนี้ ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะ ได้แก่ มือ แขน เท้า ขา ตา ตั้งแต่ 2 อย่างหรือ 2 ข้างขึ้นไป หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะจ่ายชดเชยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะ ได้แก่ หูหนวก เป็นใบ้ เสียความสามารถในการพูด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ มือ แขน ขา เท้า ตา 1 อย่าง หรือ 1 ข้าง จะจ่ายชดเชยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท กรณีทุพพลภาพถาวร จะจ่ายชดเชยรวมค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท กรณีเสียชีวิต จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมถึงค่ารักษาพยาบาล (ในกรณีเสียชีวิตภายหลัง) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เงินชดเชยเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายวันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน             การคุ้มครองดังกล่าวสามารถร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหาย   ราคา พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทอยู่ที่เท่าไร             พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทนั้นมีราคาแตกต่างกันออกไปตามประเภทของรถ ซึ่งสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ราคาของ พ.ร.บ. รถยนต์ตามมาตรฐานปกติของกรมการขนส่งทางบกจะมีดังนี้ (ไม่รวมภาษีอากร) รถเก๋ง 4 ประตู ราคาต่อ พ.ร.บ. อยู่ที่ 600 บาท รถกระบะ ราคาต่อ พ.รบ. อยู่ที่ 900 บาท รถตู้ขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคาต่อ พ.ร.บ. อยู่ที่ 1,100 บาท          พ.ร.บ. รถยนต์ จำเป็นต้องต่อทุกปีหรือไม่ ถ้าหากทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้แล้ว             คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ใช้รถหลายคนต้องการคำตอบ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้รถมือใหม่ที่อาจสับสนว่า ในเมื่อมีการคุ้มครองเหมือนกัน ทำประกันภัยรถยนต์ตัวเดียวโดยไม่ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้หรือไม่             คำตอบคือ “ไม่ได้” เนื่องจาก พ.ร.บ. รถยนต์เป็นการทำประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมาย นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี อีกทั้งยังต้องใช้ส่วนท้ายของ พ.ร.บ. รถยนต์ไปต่อภาษีรถประจำปี รวมทั้งไปต่อป้ายทะเบียนรถอีกด้วย             เรียกได้ว่าเป็น “ภาคบังคับ” ที่ต้องทำจริงๆ   ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะเป็นอย่างไร             อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับ จึงจำเป็นต้องต่อทุกปี ถ้าหากไม่ต่อก็จะถือว่ากระทำผิดกฎหมาย โดยต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งหากใช้รถคันที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วประสบอุบัติเหตุ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์อีกด้วย                           สรุปง่ายๆ ก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมีไว้เพื่อรับความคุ้มครองเบื้องต้นนั่นเอง ซึ่งราคา พ.ร.บ. รถยนต์นั้นไม่สูง เมื่อครบกำหนดควรไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เรียบร้อย จะได้รับความคุ้มครองที่แสนคุ้มค่า             แต่แม้จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์แล้วก็ตาม การขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท โดยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแต่แรกเลยย่อมดีที่สุด ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.tipinsure.com   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

230 24 เม.ย. 2568, 19:57

สีป้ายทะเบียนต่างกันหมายถึงอะไร ?

ในวันนี้เราก็นำเกร็ดความรู้มาฝากกันเล็กน้อย เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นป้ายทะเบียนรถที่วิ่งกันอยู่ตามท้องถนน สีดำบ้าง สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง มีสีต่างๆมากมายเต็มไปหมด แต่เคยรู้หรือไม่ว่าความหมายจริงๆของแต่ละสีคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ใช้งานแบบไหน ? ไปอ่านกัน ! ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ : รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์ ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว : รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ รถบรรทุกขนาดเล็ก ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ : รถจักรยานยนต์ / รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีแดง : รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน : รถยนต์ 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว : รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ เช่น รถตุ๊กๆ ป้ายสีเขียวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีขาว/สีดำ : รถบริการทัศนาจร รถบริหารธุรกิจ รถบริการให้เช่า เช่น รถลีมูซีนสนามบิน ป้ายสีส้มสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ : รถแทรกเตอร์ รถบนถนน รถพ่วง และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม ป้ายสีแดงสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ : รถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสามารถใช้งานบนถนนเพียงชั่วคราว ป้ายสีขาวไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ : รถยนต์ของผู้แทนทางการทูตขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศขีดแล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ ป้ายสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีขาว : รถเฉพาะหน่วยงานพิเศษ อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงสุล, อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานทูต, อักษร อ : องค์กรระหว่างประเทศ ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟิก : ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ   ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.recndt.com/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th  

271 25 เม.ย. 2568, 18:46

อัตราภาษีรถกระบะ รถยนต์รับจ้าง ที่ผู้ใช้รถควรรู้!

ภาษีรถกระบะ และภาษีรถรับจ้างสาธารณะ หลังจากบทความที่แล้ว เราพูดถึงภาษีรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง และภาษีรถยนต์มากกว่า 7 ที่นั่งกันไปแล้ว บทความนี้ เราจะมาพูดถึงอัตราภาษีรถกระบะ และรถรับจ้างสาธารณะกันบ้าง สำหรับภาษีรถกระบะ และภาษีรถรับจ้างสาธารณะ จะจัดเก็บตามน้ำหนักของรถ โดยมีอัตรา ดังนี้  ภาษีรถกระบะ ภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคล ภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคล สำหรับรถบรรทุกส่วนบุคคล หรือรถกระบะ ไม่ว่าจะแบบ 2 ประตู หรือ 4 ประตู หรือรถที่ได้รับป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวอักษรสีเขียว จะมีอัตราภาษี ดังนี้  รถที่มีน้ำหนักไม่เกิน 500 กก. มีอัตราภาษี 300 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750 กก. มีอัตราภาษี 450 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000 กก. มีอัตราภาษี 600 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250 กก. มีอัตราภาษี 750 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500 กก. มีอัตราภาษี 900 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750 กก. มีอัตราภาษี 1,050 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000 กก. มีอัตราภาษี 1,350 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500 กก. มีอัตราภาษี 1,650 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000 กก. มีอัตราภาษี 1,950 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500 กก. มีอัตราภาษี 2,250 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000 กก. มีอัตราภาษี 2,550 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500 กก. มีอัตราภาษี 2,850 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000 กก. มีอัตราภาษี 3,150 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000 กก. มีอัตราภาษี 3,450 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000 กก. มีอัตราภาษี 3,750 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 7,001 ขึ้นไป กก. มีอัตราภาษี 4,050 บาท ภาษีรถรับจ้าง รถสาธารณะที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รวมถึงรถยนต์บริการ จะต้องเสียภาษีรถยนต์ในอัตรา ดังนี้  ภาษีรถรับจ้าง ภาษีรถยนต์รับจ้าง รถที่มีน้ำหนักไม่เกิน 500 กก. มีอัตราภาษี 185 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750 กก. มีอัตราภาษี 310 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000 กก. มีอัตราภาษี 450 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250 กก. มีอัตราภาษี 560 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500 กก. มีอัตราภาษี 685 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750 กก. มีอัตราภาษี 875 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000 กก. มีอัตราภาษี 1,060 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500 กก. มีอัตราภาษี 1,250 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000 กก. มีอัตราภาษี 1,435 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500 กก. มีอัตราภาษี 1,625 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000 กก. มีอัตราภาษี 1,810 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500 กก. มีอัตราภาษี 2,000 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000 กก. มีอัตราภาษี 2,185 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000 กก. มีอัตราภาษี 2,375 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000 กก. มีอัตราภาษี 2,560 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 7,001 ขึ้นไป กก. มีอัตราภาษี 2,750 บาท ภาษีรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด และรถยนต์บริการ ภาษีรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด และรถยนต์บริการ รถที่มีน้ำหนักไม่เกิน 500 กก. มีอัตราภาษี 450 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 501 - 750 กก. มีอัตราภาษี 750 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 751 - 1,000 กก. มีอัตราภาษี 1,050 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,001 - 1,250 กก. มีอัตราภาษี 1,350 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,251 - 1,500 กก. มีอัตราภาษี 1,650 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,501 - 1,750 กก. มีอัตราภาษี 2,100 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,751 - 2,000 กก. มีอัตราภาษี 2,550 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,001 - 2,500 กก. มีอัตราภาษี 3,000 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2,501 - 3,000 กก. มีอัตราภาษี  3,450 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,001 - 3,500 กก. มีอัตราภาษี 3,900 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 3,501 - 4,000 กก. มีอัตราภาษี 4,350 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,001 - 4,500 กก. มีอัตราภาษี 4,800 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,501 - 5,000 กก. มีอัตราภาษี 5,250 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5,001 - 6,000 กก. มีอัตราภาษี 5,700 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 6,001 - 7,000 กก. มีอัตราภาษี 6,150 บาท รถที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 7,001 ขึ้นไป กก. มีอัตราภาษี 6,600 บาท เพราะภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถต้องรับผิดชอบควบคู่ไปกับพ.ร.บ. รถยนต์ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาชำระภาษีรถยนต์ ก็อย่าลืมไปชำระในวันที่กำหนด ไม่งั้นอาจถูกปรับได้ แม้จะเพียง 1% ของอัตราภาษีต่อเดือน แต่เมื่อรวม ๆ กันหลาย ๆ เดือนแล้ว ก็เป็นเงินไม่น้อยเลยทีเดียว ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://chobrod.com/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

322 25 เม.ย. 2568, 20:25

เมาแล้วขับ…เกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จ่ายมั้ย

อย่างที่รู้กันอยู่ว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุในกรณีเมาแล้วขับ แล้วมีการตรวจเช็คเจอปริมาณแอลกอฮอล์มากกกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์ไม่ว่าเจ้าไหนก็ไม่มีใครรับผิดชอบแน่นอน แต่เชื่อว่าหลายๆ คนยังมีข้อสงสัยว่าถ้าประกันภัยรถยนต์ไม่จ่ายแล้ว พ.ร.บ. ล่ะจะจ่ายรึเปล่าเพราะเป็นความผิดเมาแล้วขับ ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. กันเสียก่อน พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที                 ในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ พ.ร.บ. จะรับผิดชอบและให้ความคุ้มครองในตัวบุคคล หรือผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุ โดยไม่มีข้อแม้ ซึ่ง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่ารักษาพยาบาลโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดตามวงเงินที่กำหนดไว้ แต่ถ้าเกิดความเสียหายแก่รถของคุณหรือคู่กรณีคุณต้องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด พ.ร.บ.จะจ่ายให้แค่รักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเท่านั้น โดย พ.ร.บ. จะจ่ายค่า รักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000  บาท/คน และ การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 35,000  บาท/คน   ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.grandprix.co.th/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

192 25 เม.ย. 2568, 15:59


Scroll to Top