บทความและความรู้


หม้อน้ำรั่ว เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรบ้าง ?

หม้อน้ำรั่ว เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรบ้าง ? แน่นอนว่าสำหรับผู้ใช้รถหลายๆคน ที่ขับขี่รถยนต์ ปัญหาจุกจิกเรื่องเครื่องยนต์สามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ไม่เว้นแม้แต่ปัญหา หม้อน้ำรั่ว ที่จริงๆแล้วนานๆจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถยนต์ที่ใช้งานมานานหลายปี ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าหากเกิดขึ้นในจังหวะที่เราต้องเดินทางไปไหนมาไหนบอกว่าไม่ดีแน่ค่ะ เพราะผู้ใช้รถบางคนหากไม่รู้จักสังเกตหรือรู้ตัวช้า อาจเกิดปัญหาหม้อน้ำรั่ว จนรถยนต์ที่ใช้อาจจะสตาร์ทไม่ติด หรือถึงขั้นดับกลางทางได้เลย และที่หนักไปกว่านั้นคืออาจทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนเกิดควันและกลายเป็นเพลิงลุกไหม้รถยนต์ได้ หากไม่ได้แก้ปัญหาตั้งแต่แรก                                                                                  ซึ่งโดยปกติแล้วระบบของรถยนต์มักจะมีสัญญาณเตือนก่อนถึงจุดวิกฤตเสมอ ดังนั้น ผู้ใช้รถควรต้องรู้ว่า หม้อน้ำรั่วอาการเป็นแบบไหน ดูยังไง หม้อน้ำรั่วเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง ซึ่งหากเราตกอยู่ในสถานการณ์นี้ควรทำอย่างไร บทความนี้  ID Drives เรามีคำแนะนำดีๆมาฝากกันค่ะ หม้อน้ำในรถยนต์ คือ ส่วนประกอบสำคัญของระบบหล่อเย็นที่คอยทำหน้าที่ดึงความร้อนภายในเครื่องยนต์ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกมา โดยอาศัยการไหลเวียนของของเหลวไหลวนเป็นระบบปิด ซึ่งหน้าตาหม้อน้ำรถยนต์จะเป็นทรงสี่เหลี่ยม มีแผงครีบระบายความร้อน ด้านในเป็นท่อโลหะขดวนไปมา เพื่อให้ลมจากพัดลมหน้าหม้อน้ำและกระแสลมขณะรถวิ่งช่วยระบายความร้อน หม้อน้ำรั่วเกิดจากอะไร ? หม้อน้ำรั่วอาจเกิดจากการสึกกร่อนของตัวหม้อน้ำที่ใช้มาเป็นเวลานาน หรือถูกวัตถุอื่นมากระแทกทำให้รั่วได้ นอกจากนี้ การเติมน้ำในหม้อน้ำมากเกินไป การปล่อยให้น้ำในหม้อน้ำอยู่ในระดับต่ำจนเกิดความร้อนสูง ตลอดจนเทอร์โมสตัทที่เสื่อมสภาพ อาจทำให้เกิดความร้อนและแรงดันในหม้อน้ำสูงเกินไป ซึ่งส่งผลให้หม้อน้ำมีอายุสั้นลงจนเกิดการรั่วซึมได้เช่นกัน หม้อน้ำรั่ว อาการเป็นอย่างไร ? น้ำในหม้อลดลง ต้องเติมน้ำบ่อยกว่าปกติ พบคราบน้ำหล่อเย็นที่ไหลอยู่ตามพื้น ไฟแจ้งเตือนแสดงขึ้นที่หน้าปัด รถยนต์สตาร์ตไม่ติด หรือดับกลางทาง วิธีดูว่าหม้อน้ำนั้นรั่วหรือไม่ ลองเปิดฝาหม้อน้ำ ในขณะเครื่องยนต์เย็น เติมน้ำทีละน้อย ทิ้งช่วงห่างกัน 5 นาที คอยสังเกตระดับน้ำที่เติม ถ้าเติมแล้วลด เติมไปไม่เต็มซักที แสดงว่าหม้อน้ำมีรอยรั่ว ให้รีบจัดการเปลี่ยนหม้อน้ำใบนั้นโดยทันที                                                                               วิธีสังเกตอาการหม้อน้ำรั่ว สังเกตหม้อน้ำโดยรอบ ว่ามีคราบตะกรันหรือคราบน้ำไหลออกมาจากหม้อน้ำตรงจุดไหนหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นน้ำยาหล่อเย็นที่มีสีสะท้อนแสง จะสามารถมองหาจุดที่หม้อน้ำรั่วได้ง่าย สังเกตใต้พื้นรถ ตรงตำแหน่งหม้อน้ำ ว่ามีน้ำหยดหรือไม่ ลองเติมน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำให้เต็ม รวมถึงเติมในกระปุกหม้อพักน้ำให้อยู่ในระดับ MAX จอดทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วมาดูอีกทีว่าระดับน้ำยังอยู่เท่าเดิมหรือว่าลดลง น้ำอาจไม่ได้รั่วจากหม้อน้ำเสมอไป เช่น รั่วที่ท่องยาง ฝาหม้อน้ำ หางปลาหม้อน้ำขันไม่แน่น เป็นต้น จุดเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ก็ต้องเช็คจะได้รู้สาเหตุที่แท้จริง วิธีแก้ปัญหา หมอน้ำรั่ว แบบฉุกเฉิน หากพบว่าหม้อน้ำรั่ว ให้ขับรถจอดที่ข้างทางที่ปลอดภัยและไม่กีดขวางทางจราจร ลองมองหาดินเหนียวจากรอบตัว เพื่อนำมาอุดรอยรั่วแบบชั่วคราว ใช้สบู่ก้อนอุดรอยรั่วแทนวัสดุอื่น โดยนำสบู่ไปละลายน้ำให้อ่อนตัวลงเล็กน้อย จากนั้นจึงปั้นให้ขนาดพอเหมาะแล้วอุดที่รูรั่ว ใช้ดินน้ำมันอุดรอยรั่วให้แน่นหนาจนน้ำไม่หยดหรือไม่รั่วซึม เมื่ออุดรอยรั่วแบบฉุกเฉินแล้ว ให้นำรถเข้าอู่ซ่อมที่ใกล้ที่สุดทันทีเพื่อป้องกันรถเสีย                                                                  วิธีดูแลรักษาและป้องกันหม้อน้ำรั่ว หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ประจำรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากพบรอยรั่วตามจุดต่างๆ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้งหม้อน้ำ ปั้มน้ำ ให้รีบแก้ไขโดยด่วน อย่าปล่อยไว้ เตรียมน้ำเปล่าใส่ขวดไว้ในรถ เป็นขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรทั่วไปก็ได้ สักขวดสองขวดไว้ในรถ หากเกิดเหตุการณ์หม้อน้ำรั่วจนทำให้หม้อน้ำแห้งจะได้มีน้ำไว้เติมใส่หม้อน้ำได้ หมั่นคอยตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำอยู่เสมอ รถใหม่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป ควรตรวจสอบ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้เติมน้ำสะอาดและถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4 - 6 เดือน เพื่อป้องกันสิ่งสกปกรกตกค้างจนหม้อน้ำเกิดการอุดตัน และไม่สามารถระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ ไม่เติมน้ำเกินขีดที่กำหนด เพราะเมื่อน้ำเดือด หม้อน้ำจะเกิดการขยายตัว ทำให้หม้อน้ำแตกได้ และในกรณีที่เป็นหม้อน้ำทองแดง อย่าลืมเติมน้ำยาเคลือบกันสนิมลงไปด้วย เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของหม้อน้ำ ขณะขับขี่หมั่นสังเกตที่หน้าปัดว่า ความร้อนอยู่ในระดับปกติหรือไม่ หากเข็มวัดเลื่อนมาอยู่ใกล้ตัว H แสดงว่า เครื่องยนต์กำลังร้อนจัด ให้รีบนำรถจอดเข้าข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัยทันที แล้วเปิดฝากระโปรงหน้าไว้ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากห้องเครื่องได้เร็วขึ้น ก่อนดำเนินการแก้ไขต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาหม้อน้ำรั่วหรือปัญหาผิดปกติต่างๆในระหว่างขับขี่ อย่าลืมว่าผู้ใช้รถต้องตั้งสติเป็นอันดับแรก เลือกจอดในที่ปลอดภัย ตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากนั้นก็ต้องรีบนำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดเพื่อให้ช่างผู้มีความชำนาญตรวจเช็คหม้อน้ำทันที เพราะหากพยายามฝืนขับรถต่อไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะยิ่งบานปลาย ซึ่งส่งผลร้ายโดยตรงต่อเครื่องยนต์แน่นอนครับ ดังนั้น ผู้ใช้รถต้องหมั่นตรวจสภาพหม้อน้ำของรถด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาระหว่างทางและเพื่อให้รถของคุณสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น   ขอขอบคุณข้อมูล : เยลโล่เซอร์วิส  

1073 25 เม.ย. 2568, 18:43

หลายคนไม่รู้! ไฟเตือนรูป "แบตเตอรี่" ไม่ได้แปลว่าแบตหมด

  หลายคนเข้าใจผิดว่าไฟเตือนรูปแบตเตอรี่สีแดง หมายความว่าแบตเตอรี่หมด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด แท้จริงแล้วหมายถึงอะไรกันแน่?      สัญลักษณ์รูปแบตเตอรี่สีแดงที่อาจปรากฏขึ้นบนหน้าปัด ไม่ได้หมายถึงแบตเตอรี่หมดเสียทีเดียว หากแต่หมายถึง "ไดชาร์จ" (Alternator) กำลังมีปัญหา ซึ่งปัญหาก็คือไม่สามารถสร้างกระแสไฟเพื่อไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ จะทำให้ปริมาณแบตเตอรี่ค่อยๆ ลดลง แม้ว่ากำลังขับขี่อยู่ ในที่สุดรถก็จะดับและไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีกต่อไป      ดังนั้น หากกำลังขับรถอยู่ดีๆ แล้วพบว่าไฟรูปแบตเตอรี่สว่างขึ้น นั่นหมายความว่า คุณกำลังมีเวลาที่เหลืออีกไม่กี่นาทีก่อนเครื่องยนต์จะดับ ทางที่ดีควรรีบนำรถเข้าศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถใกล้เคียง ก่อนที่เครื่องยนต์จะดับและไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้ ทางที่ดีควรปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในตัวรถให้มากที่สุด เช่น ระบบปรับอากาศ, ไฟส่องสว่างที่ไม่จำเป็น, เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อยืดระยะทางขับขี่ให้ได้มากที่สุด Advertisement      นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไดชาร์จมีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไดชาร์จทั้งลูกเสมอไป เช่น สายพานไดชาร์จหย่อน, ฟิวส์หรือสายไฟขาด เป็นต้น   หากไม่อยากเกิดปัญหารถดับ รถตายกลางทาง ก็ควรเช็คสภาพรถให้พร้อมอยู่เสมอ หมั่นนำรถเข้าเช็คระยะเป็นประจำ เปลี่ยนอะไหล่เมื่อจำเป็น จะช่วยลดโอกาสตายกลางทางได้   ขอขอบคุณข้อมูล : SANOOK

617 25 เม.ย. 2568, 15:49

ถุงลมนิรภัย Airbag

ถุงลมนิรภัยเป็นคุณสมบัติความปลอดภัยที่สำคัญในยานพาหนะที่ให้การรองรับที่สำคัญสำหรับผู้โดยสารในระหว่างการชน ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องบุคคลจากการกระแทกภายในรถหรือวัตถุภายนอกรถ ถุงลมนิรภัยด้านหน้าเป็นสิ่งจำเป็นในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปี 1999 ในขณะที่ถุงลมนิรภัยด้านข้างไม่ได้บังคับอย่างชัดเจน แต่รวมอยู่ในรถยนต์ส่วนใหญ่เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการป้องกันด้านข้างของรัฐบาลกลาง ทั้งถุงลมนิรภัยด้านหน้าและด้านข้างช่วยลดการเสียชีวิตได้อย่างมากในอุบัติเหตุประเภทต่างๆ ระบบถุงลมนิรภัยประกอบด้วยส่วนประกอบหลักสามส่วน: (1) โมดูลถุงลมนิรภัยที่มีชุดเติมลมและถุงลมนิรภัยผ้าที่มีน้ำหนักเบา (2) เซ็นเซอร์การชน  (3) หน่วยวินิจฉัย บางระบบอาจมีสวิตช์เปิด / ปิดแม้ว่ากฎหมายที่ควบคุมการปิดใช้งานจะเข้มงวด โมดูลถุงลมนิรภัยมักจะอยู่ที่พวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดและเซ็นเซอร์มีหน้าที่ในการกระตุ้นการพองตัวของถุงเมื่อตรวจพบแรงกระแทกที่เทียบเท่ากับแรงกระแทก 10 ถึง 15 ไมล์ต่อชั่วโมง ถุงลมนิรภัยได้รับการออกแบบให้ทำงานภายใน 300 ถึง 400 มิลลิวินาทีในระหว่างการชนและสามารถสร้างแรงที่รุนแรงพอที่จะทำให้กระจกหน้ารถแตกได้ ในขณะที่ถุงลมนิรภัยโดยทั่วไปปลอดภัย แต่ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้หากไม่ได้รับการป้องกันที่เหมาะสม เช่น การตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยและรักษาระยะห่างที่เพียงพอจากถุงลมนิรภัย Airbag หรือ ถุงลมนิรภัย เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความปลอดภัย เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ เมื่อรถยนต์ชนหรือเกิดการกระแทกที่รุนแรงเกินกว่าที่กำหนด จะมีเซ็นเซอร์ ตรวจจับแรงกระแทก และทำให้ ถุงลมนิรภัยทำงาน พองตัวออกมาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันผู้ที่อยู่ภายในห้องโดยสารจากแรงกระแทกต่างๆ สัญญาณเตือน นำรถเข้าตรวจสอบถุงลมนิรภัย ไฟเตือน ถุงลมขึ้นค้าง แปลว่า ถุงลมนิรภัยไม่พร้อมทำงาน รีบนำเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ ปัจจุบันถุงลมบางยี่ห้อที่ติดตั้งมากับรถ มีบางส่วนเกิดข้อบกพร่องในการผลิต เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนถุงลมทำงาน ตอนระเบิดอาจมีชิ้นส่วนโลหะพุ่งออกมาเป็นอันตราย กรณีนี้จะไม่ปรากฏไฟเตือนถุงลม เจ้าของรถต้องตรวจสอบกับผู้ผลิตโดยตรง   ขอขอบคุณข้อมูล : ขับขี่ปลอดภัย by DLT  

801 25 เม.ย. 2568, 15:48

แผ่นป้ายหมายเลขโลหะที่ติดมากับกุญแจรถคืออะไร?

          ใครก็ตามที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดงออกมาจากโชว์รูม คงจะเห็นว่าในพวงกุญแจรถที่ให้มานั้น วันนี้ บริษัท ID Drives จะมาแนะนำ มีแผ่นโลหะขนาดเล็กที่สลักหมายเลขติดมาให้ด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนหายอย่างเด็ดขาด คงอยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะครับว่าเจ้าสิ่งนี้คืออะไรกันแน่? แผ่นป้ายหมายเลขกุญแจ เป็นรหัสเฉพาะสำหรับรถแต่ละคันสำหรับทำกุญแจดอกใหม่ในกรณีกุญแจสูญหาย ซึ่งโดยปกติแล้วหากกุญแจดอกใดดอกหนึ่งหาย สามารถนำกุญแจสำรองที่เหลือไปให้ศูนย์บริการทำดอกใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นป้ายโลหะดังกล่าว        แต่กรณีกุญแจหลักและกุญแจสำรองหายพร้อมกันทุกดอก คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำแผ่นป้ายหมายเลขดังกล่าวไปให้ศูนย์บริการเพื่อทำกุญแจดอกใหม่ หากว่าไม่มีรหัสดังกล่าว อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเบ้ากุญแจทั้งชุด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจนถึงหลักหมื่นบาทได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีอยู่ภายในบ้าน   ทางที่ดีคุณควรพ่วงแผ่นป้ายไว้กับกุญแจสำรองที่เก็บรักษาอยู่ภายในบ้าน ไม่ควรห้อยติดตัวไปใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องนำกุญแจสำรองออกมาใช้ ก็ควรถอดแผ่นป้ายโลหะเก็บไว้อีกที หรืออีกวิธีหนึ่งคือการถ่ายรูปแผ่นป้ายเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ เผื่อกรณีเกิดสูญหายขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถใช้รหัสดังกล่าวเพื่อแสดงให้กับศูนย์บริการได้เช่นกัน      รู้แบบนี้แล้วก็ควรเก็บรักษาแผ่นป้ายหมายเลขอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการนำมาห้อยกับกุญแจที่ใช้งานอยู่เป็นประจำด้วย   ขอขอบคุณข้อมูล : SANOOK 

555 25 เม.ย. 2568, 22:43

5 สิ่งต้องเช็ค ก่อนเดินทางไกล

ใกล้ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์กันแล้ว เพื่อนๆ หลายท่านอาจวางแผนเดินทางขับรถกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวกันการตรวจเช็ครถนับเป็นเรื่องที่สำคัญในการเดินทางเลยทีเดียว     วันนี้ ID Drives มี 5 สิ่งที่ต้องเช็คก่อนเดินทางไกลมาฝากกันค่ะ 1.น้ำมันเครื่อง    ควรได้รับการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องเป็นประจำ เพื่อเช็คความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือกำหนดการในการเข้ารับบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อถึงระยะที่กำหนด เพราะน้ำมันเครื่องถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 2.แบตเตอรี่    อายุการใช้งานทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละท่าน รวมถึงในปัจจุบันแบตเตอรี่มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่ต้องคอยตรวจเช็คอย่างแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่น ซึ่งต้องมั่นตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่มาตรฐานอยู่เสมอ หรือแบตเตอรี่แบบแห้งที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น เราอาจใช้วิธีการคอยมั่นตรวจเช็คสภาพโดยรวม และระยะเวลาการในใช้งานแบตเตอรี่ เพื่อเฝ้าระวังการเสื่อมของแบตเพื่อเปลี่ยนแบตลูกใหม่ให้พร้อมใช้งาน 3.หม้อน้ำ    เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราต้องคอยตรวจเช็คอยู่เสมอเช่นกัน การหมั่นสังเกตอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นการสังเกตเกจ์วัดระดับความร้อนที่หน้าปัด หรือระดับน้ำในหม้อพักน้ำ ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดความร้อนเกินขีดจำกัด ที่จะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ได้ 4.ยางและลมยาง   เป็นสิ่งที่ควรหมั่นตรวจเช็คทุกสัปดาห์ ทั้งสภาพยางโดยรวม ระยะการใช้งาน รวมถึงสภาพดอกยาง และในเรื่องการเติมลมยางนั้น ควรเป็นไปตามคำแนะนำของรถในแต่ละรุ่น ซึ่งมีระบุไว้ที่บริเวณข้างประตู ทั้งนี้ในยามเดินทางการเติมลมยางควรมีการเติมไว้มากกว่าระดับปกติเพื่อการบรรทุก ซึ่งที่บริเวณข้างประตูของรถยนต์แต่ละรุ่นก็มีระบุไว้แล้วอย่างชัดเจน 5.เบรก    อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ควรหมั่นสังเกตและคอยดูแล ว่าผ้าเบรกหมดหรือไม่ มีความผิดปกติหรือเสียงที่ผิดแปลกไปในระบบเบรกหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบนำรถยนต์ไปตรวจสอบหาสาเหตุพร้อมแก้ไขในทันที   ขอขอบคุณข้อมูล : เยลโล่เซอร์วิส

499 25 เม.ย. 2568, 15:47


Scroll to Top