บทความและความรู้


ราคาต่อภาษีรถยนต์ แต่ละประเภท ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

ราคาต่อภาษีรถยนต์ แต่ละประเภท ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร             เช็กที่นี่! ราคาต่อภาษีรถยนต์ สำหรับรถยนต์แต่ละประเภท มีการคำนวณค่าภาษีอย่างไร ราคาเท่าไรบ้าง ใครที่ต้องการ ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถยนต์ แต่ไม่แน่ใจว่าค่าภาษีรถยนต์ของตัวเองนั้นราคาเท่าไร วันนี้ TIPINSURE ก็มีวิธีคำนวณค่าภาษีรถยนต์มาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีวิธีคิดอย่างไรบ้าง   ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร           ในแต่ละปีที่เราต้องต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์นั้น เพื่อนๆ รู้ไหมว่า รถยนต์แต่ละคันก็มีราคาต่อภาษีรถยนต์ที่แตกต่างกันไป ตามประเภทของรถยนต์ที่ใช้ ขนาดเครื่องยนต์ น้ำหนักและอายุของรถ รวมไปถึง ประเภทการจดทะเบียนรถยต์ หากเป็นภาษีรถยนต์รับจ้าง ราคาต่อภาษีรถยนต์ก็จะแตกต่างจากรถยนต์จดทะเบียนส่วนบุคคล โดยมีรายละเอียด ดังนี้   1.รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)           การคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง จะคำนวณจากขนาดของเครื่องยนต์ หรือ ซีซี ดังนี้ 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 50 สตางค์ 601–1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท 1,801 ซีซีขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท           และยังมีส่วนลดให้สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยจะเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วน ดังนี้ รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10% รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20% รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30% รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40% รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%   ตัวอย่าง : การคำนวณภาษีรถยนต์ ของรถเก๋งอายุ 7 ปี ขนาดเครื่องยนต์ 1,500 ซีซี 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท 600-1500 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 900 x 1.50 = 1,350 บาท นำผลลัพธ์ทั้งสองมารวมกัน จะได้ 300 + 1,350 = 1,650 บาท ได้รับส่วนลด 20% เพราะเป็นรถที่อายุการใช้งาน 7 ปี เท่ากับ 1,650-20% = 1,320 บาท ดังนั้น ราคาต่อภาษีรถยนต์ ของรถเก๋งอายุ 7 ปี เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี จะเท่ากับ 1,320 บาท   2.รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)           สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก หรือ รถตู้ขนส่งสินค้า จะมีวิธีคิดคำนวณภาษีตามน้ำหนักรถยนต์ น้ำหนักรถ 0-500 อัตราภาษี 300 บาท น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. อัตราภาษี 1,950 บาท   3.รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)           สำหรับ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ก็จะมีวิธีคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักเช่นกัน แต่คนละอัตรา ดังนี้ น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท   ต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง           ปัจจุบันนี้ เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th   เอกสารต่อภาษีรถยนต์ สมุดคู่มือจดทะเบียน หรือ สำเนาทะเบียนรถยนต์ เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (เหลือวันหมดอายุมากกว่า 90 วัน) ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ใบรับรองการติดตั้งแก๊ส สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส             เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ราคาต่อภาษีรถยนต์ มีราคาเท่าไรบ้าง อย่างไรก็ดี การต่อภาษีรถยนต์ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นกับรถยนต์เป็นอย่างมาก ซึ่งหากใครที่ต้องการ ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า สามารถต่อภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน แต่หากลืมต่อภาษีรถยนต์ ก็สามารถต่อภาษีย้อนหลังได้ แต่จะโดนค่าปรับ คิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน และหากขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถยนต์ ต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่ ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.tipinsure.com/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

452 25 เม.ย. 2568, 18:57

จะ ต่อภาษีรถยนต์ ต้องรู้! รถอายุกี่ปีต้องเข้า ตรวจสภาพรถ ได้แล้ว

ตรวจสภาพรถ สิ่งสำคัญที่คนรักรถต้องรู้เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั่นเอง ซึ่งหลายคนมักลืมเวลาสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ รวมไปถึงกฎระเบียบเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ ทำให้ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อภาษีรถยนต์ใกล้หมด และรู้ตัวอีกทีว่ารถตัวเองต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ นั่นหมายถึงเวลาที่เพิ่มขึ้นกับขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งอาจลงเอยไปถึงการจ่ายค่าปรับเนื่องจากภาษีรถยนต์ขาด รู้ใจพร้อมเปิดเผยข้อมูลการตรวจสภาพรถยนต์ว่ามีความเกี่ยวพันกับการต่อภาษีรถยนต์อย่างไร และรถแบบไหน รุ่นใด ที่ต้องตรวจสภาพรถบ้าง และหากไม่มีเวลาไปตรวจสภาพรถพร้อมต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง จะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ เราพร้อมอธิบายทุกคำถามเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการต่อภาษีรถยนต์ให้กระจ่างชัดทั้งหมด เพื่อป้องกันการเสียเวลาสำหรับคนรักรถทุกคน เมื่อต้องต่อภาษีรถยนต์ของคุณ มาทำความเข้าใจการตรวจสภาพรถ พร้อมต่อภาษีรถยนต์กัน เคยหรือไม่ เมื่อถึงเวลาการต่อภาษีรถยนต์ คุณถึงได้รู้ว่ารถของคุณจำเป็นต้อง ตรวจสภาพรถ ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ซะแล้ว คำถามที่ตามมาคือ อะไรคือ กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องทำการตรวจสภาพรถควบคู่กันไปด้วย และถ้าหากละเลย หรือไม่ได้ทำการตรวจสภาพรถก่อนการไปต่อภาษีรถยนต์ จะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องมีการตรวจสภาพของรถก่อนคือ เมื่อใดก็ตามที่รถยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง หลังจากการใช้งานครบ 7 ปีแล้ว ในปีต่อไปก่อนการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีรถยนต์เสมอ โดยการตรวจสภาพรถแต่ละครั้ง จะเป็นการคำนวณภาษีรถยนต์รวมไปถึงการทำประกันเพื่อคุ้มครองรถยนต์ ซึ่งทุกอย่างจะถูกชี้แจงออกมาอย่างชัดเจนหลังจากการตรวจสภาพรถและต่อภาษีรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสภาพรถ โดยจะมีอัตราค่าใช้จ่าย ดังนี้ รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท และในส่วนของรถจักรยายนต์ก็ต้องตรวจสภาพรถด้วยเช่นกัน เมื่อรถจักรยานยนต์คันนั้นมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ก่อนการต่อภาษีแต่ละครั้งจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนการต่อภาษีด้วย โดยอัตราค่าบริการในส่วนของรถจักรยานยนต์สำหรับการตรวจสภาพรถนั้น มีค่าธรรมเนียมที่คันละ 60 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากการต่อ พ.ร.บ. เอกสารและสถานที่สำหรับยื่นเรื่อง ตรวจสภาพรถยนต์ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ทางกรมขนส่งทางบกจึงกำหนดเป็นนโยบาย ให้ทุกครั้งที่ทำการตรวจสภาพรถจะต้องทำควบคู่ไปกับการต่อภาษีรถยนต์พร้อมกันไปเลย ดังนั้น การเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ นั้น จึงใช้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการต่อ พ.ร.บ. ในการเป็นหลักฐานเพื่อยื่นสำหรับการตรวจสภาพรถซึ่งมีเอกสารที่จำเป็นสำหรับตรวจสภาพรถพร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ จะใช้เพียง ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือ สมุดทะเบียนรถ สามารถใช้ได้ทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนา (รถยนต์ : เล่มสีฟ้า / จักรยานยนต์ : เล่มสีเขียว ) ซึ่งในส่วนของฉบับสำเนานั้นใช้ในกรณีที่รถยังอยู่ในการผ่อนชำระและกรรมสิทธิ์การครอบครองรถยังไม่ได้เป็นของคุณเอง แนบไปพร้อมกับบัตรประชาชนเพื่อทำการยืนยันสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถคันนั้นด้วย การยื่นตรวจสภาพรถสามารถแยกเวลาการทำเอกสารกับการยื่นขอ พ.ร.บ. ได้ แต่จะต้องตรวจสภาพรถพร้อมกับการยื่นขอต่อ พ.ร.บ. ภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากการตรวจสภาพรถแล้ว ดังนั้น เพื่อความสะดวก จึงมักทำควบคู่กันไปเลยในครั้งเดียว สำหรับสถานที่ในการยื่นเรื่องเพื่อขอทำการตรวจสภาพรถ พร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั้น สามารถยื่นเรื่องได้ใน 2 พื้นที่ด้วยกัน ดังนี้ 1.กรมการขนส่งทางบก – โดยที่เจ้าของรถสามารถนำรถไปรับการตรวจสภาพรถพร้อมกับยื่นความจำนงเพื่อขอต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกในจังหวัดที่ใกล้ที่สุดสำหรับการเดินทางของคุณ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การเข้าไปตรวจสภาพรถพร้อมกับต่อภาษีรถยนต์ประจำปีที่กรมการขนส่งทางบกนั้น มักเข้าไปต่อในกรณีที่การตรวจสภาพรถไม่สามารถทำ ณ จุดให้บริการอื่นได้ โดยเงื่อนไขที่ต้องนำรถมาตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบกเองคือ รถที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 1 ปีขึ้นไป หรือ รถที่มีการดัดแปลงสภาพ สี หรือ การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ รวมไปถึงรถที่มีปัญหาในเรื่องของความเลือนรางของหมายเลขตัวถังรถ ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากกรมการขนส่งทางบกเองทั้งหมด 2.สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. – เชื่อได้เลยว่า คำนี้เป็นคำที่ทุกคนคุ้นเคย แต่อาจเกิดความสงสัยจนไม่กล้าเข้าไปใช้บริการ ด้วยความเข้าใจผิดนานาประการสำหรับการใช้บริการตรวจสภาพรถพร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์โดยอาศัยการให้บริการของ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) โดยความเข้าใจผิดส่วนใหญ่คือ สถานที่ตรวจสภาพรถทำหน้าที่ตรวจสภาพรถแต่เพียงอย่างเดียว และไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ทำให้หลายคนเลือกที่จะไปใช้บริการโดยตรงกับกรมการขนส่งทางบกแทน ซึ่งในการไปตรวจสภาพรถและต่อภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกนั้นมีคิวที่ยาวมาก อีกทั้งด้วยความเข้าใจผิด คิดว่า มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) จะมีการคิดค่าบริการเพิ่มในอัตราคันละ 200-300 บาท สำหรับการต่อภาษีรถยนต์และการตรวจสภาพรถ ซึ่งถือว่าเป็นความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการทำงานด้านเอกสารด้วยตัวของคุณเอง โดยที่คุณไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบก รู้หรือไม่ การตรวจสภาพรถต้องตรวจสอบอะไรกันบ้าง อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญที่นักขับทุกคนต้องรู้คือ ในการตรวจสภาพรถยนต์ในแต่ละครั้ง ทาง ตรอ. หรือกรมการขนส่งทางบกจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ผู้ขับขี่รถควรตรวจสอบให้รอบคอบว่าการตรวจสภาพรถนั้นครบในทุกขั้นตอนหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่อการนำส่งข้อมูลเพื่อขอต่อ พ.ร.บ. ต่อไป ซึ่งจุดที่ต้องตรวจสภาพรถมีดังนี้ ตรวจสอบข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ ว่ามีความถูกต้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่ ตรวจสภาพของตัวรถ นับตั้งแต่ ตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ามีความพร้อมใช้งานมากน้อยเพียงใด ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรครถยนต์ ว่ามีการทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ตรวจสอบความสว่างของโคมไฟหน้า พร้อมกับทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง ว่ามีความสว่างเพียงพอต่อการส่งสัญญาณให้รถคันอื่น รวมถึงการขับขี่รถในยามค่ำคืนด้วยความปลอดภัยได้หรือไม่ ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ในระบบไอเสีย ซึ่งสำหรับความเข้าใจของคนทั่วไปก็คือ การตรวจสอบดูว่ารถยนต์คันนั้นมีควันขาวหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าการเผาไหม้ในห้องเครื่องเริ่มมีปัญหาและไม่สมบูรณ์แล้ว ตรวจควันดำ สำหรับในส่วนของรถยนต์เครื่องดีเซล โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45 ตรวจวัดระดับความดังของเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล ตรวจสอบตามข้อต่อ ท่อ และอุปกร์ติดแก๊ส สำหรับรถที่ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบแก๊ส จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม คือ การตรวจทดสอบ เช็กตามข้อต่อ ตลอดจนท่อและอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี โดยรถยนต์ที่ใช้แก๊สมาถึง 10 ปีแล้ว ทางกรมการขนส่งทางบกจะอนุญาตให้ใช้งานต่อได้อีก 5 ปี หลังจากนั้นจะไม่ต่อ พ.ร.บ. ให้อีก ทั้งหมดนี้คือข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่นักขับทุกคนควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งคุณจะได้รับการต่อประกันภัยชั้น 3 สำหรับการคุ้มครองผู้ประสบเหตุอีกด้วย แต่หากต้องการความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ต้องไม่พลาดที่จะทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 โดยให้รู้ใจเป็นผู้ดูแล เพราะเรารู้ใจกว่า ประหยัดกว่า ให้คุณเลือกปรับแต่งแผนได้เอง ประหยัดสูงสุดถึง 30% ซื้อง่ายทางออนไลน์ภายในไม่เกิน 3 นาที คุ้มครองคุณทุกที่ ทุกเวลา รับประกันคุณภาพงานซ่อม 12 เดือนที่อู่ในเครือของรู้ใจทั่วประเทศ   ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://www.roojai.com/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

265 25 เม.ย. 2568, 16:11

ส่วนควบรถยนต์ คืออะไร สำคัญอย่างไร ?

ขับขี่รถยนต์ถูกกฎหมายอุปกรณ์ที่ต้องมีติดรถมีอะไรบ้าง การขับรถให้ถูกต้องตามกฎหมายนอกจากต้องมีใบอนุญาตขับขี่ รู้กฎจราจร รู้จักมารยาทในการใช้รถใช้ถนนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและเชื่อว่าเจ้าของรถหลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจตรงนี้อยู่ นั่นก็คือเรื่องของส่วนควบอุปกรณ์รถยนต์นั่นเอง เพราะกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2551 ระบุว่า รถยนต์ต้องมีส่วนควบครบตามกฎหมายกำหนด หากไม่มี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่มีประสิทธิภาพในการขับขี่ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท   อุปกรณ์ส่วนควบรถยนต์ มีอะไรบ้าง ? กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ได้ระบุไว้ใน ข้อ 3 รถยนต์รับจ้าง, ระหว่างจังหวัด, รถยนต์รับจ้าง, รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง, รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1.โครงสร้างและตัวถัง ต้องอยู่ในสภาพแข็งแรง ปลอดภัย รับน้ำหนักได้เต็มอัตราบรรทุก 2. เครื่องกำเนิดพลังงาน ขับเคลื่อนด้วยความเร็วเหมาะสมในอัตราบรรทุกเต็มอัตรา                                                                                                                                                                                  3. ระบบส่งกำลัง ส่งกำลังรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้ปลอดภัย 4. ระบบบังคับเลี้ยว คล่องตัว ปลอดภัย 5. ระบบห้ามล้อ ลดความเร็ว/หยุดนิ่ง อย่างปลอดภัย ติดตั้งในตำแหน่งเหมาะสม รวมถึงหยุดรถขณะจอดได้สนิท 6. คันเร่ง ระบบกลไกสมบูรณ์ ปลอดภัย 7. ระบบรองรับน้ำหนัก รับแรงสั่นสะเทือนในขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก 8. ระบบเชื้อเพลิง เก็บและส่ง เชื้อเพลิงได้อย่างปลอดภัย 9. ระบบไฟฟ้า 10. ระบบไอเสีย 11. กันชน ด้านหน้าและด้านท้าย 12. ยาง 13. กงล้อ 14. บังโคลน 15. ประตู 16. กระจกกันลม 17. อุปกรณ์ลากจูง 18. อุปกรณ์ต่อพ่วง 19. อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจก 20. อุปกรณ์มองภาพ 21. ที่บังแดด 22. แตรสัญญาณ 23. มาตรวัดความเร็ว 24. เข็มขัดนิรภัยและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย 25. เครื่องหมายหรือสัญญาณแสดงการทำงานส่วนควบ 26. ที่นั่งผู้ขับรถและผู้โดยสาร ติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรง 27. พนักพิงศีรษะ 28. อุปกรณ์ส่องสว่างทุกจุดทั้งภายในและภายนอกรถ                                                                                                                                                                             ทั้งหมดดังกล่าวคืออุปกรณ์ส่วนควบของรถยนต์โดยสารที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีและต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากมีการดัดแปลงสภาพ หรือมีอุปกรณ์ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่อยู่ในสภาพใช้งาน การนำรถออกไปขับขี่ถือมีความผิดตามกฎหมายเช่นกันเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นนั่นเอง เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วในฐานะเจ้าของรถยนต์ควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ส่วนควบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเป็นประจำ อาจเลือกที่จะนำรถเข้าเช็คที่ศูนย์บริการตามกำหนด หากพบอุปกรณ์ชิ้นใดเริ่มหมดอายุการใช้งานควรรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ นอกจากนี้การทำประกันรถยนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างที่เจ้าของรถต้องใส่ใจ เพราะต่อให้รถอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นกับรถของคุณ   ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก https://promotions.co.th/   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

1063 25 เม.ย. 2568, 20:54

ไฟหน้ารถ สีไหนผิดกฎหมาย ใช้ไฟอย่างไรให้ถูกวิธี

ไฟหน้ารถ ใช้อย่างไรให้ไม่รบกวนสายตาผู้อื่น สำหรับผู้อ่านทุกคนที่เป็นผู้ใช้รถใช้ถนน คงต้องเจอกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้ารถยนต์ แยงตาจากรถคันที่วิ่งสวนมา ทั้งการลืมปิดไฟสูงบ้าง หรือจะเป็นไฟหน้ารถยนต์ที่มีการดัดแปลงให้มีความสว่างเกินกว่ากฎหมายบ้าง วันนี้เรามาทราบกันว่าจะดัดแปลงหรือเปลี่ยนไฟหน้ารถยนต์แบบไหนให้ไม่รบกวนผู้อื่น   เคยเกิดเหตมาก็หลายเคส กับการทะเลาะวิวาทกันกลางถนนเพราะไฟหน้ารถยนต์ วันนี้เรามาทำความรู้จักและการใข้งานไฟให้ถูกต้องตามกฎหมายกันว่าจะใช้งานหรือดัดแปลงอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย กฎหมายไฟหน้ารถยนต์ ตามกฎหมายกำหนดให้ไฟหน้ารถยนต์มีสีขาวหรือเหลืองอ่อนเท่านั้น ส่วนความเข้มของแสงต้องไม่เกิน 55 วัตต์ และติดตั้งสูงจากผิวถนนไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร รูปแบบการกระจายแสงต้องอยู่ในระดับตรงช่องจราจรและไม่รบกวนสายตาผู้ขับขี่รายอื่น ซึ่งถ้าพิจารณาตามกฎหมายเบื้องต้นแล้วคงไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น ข้อสรุปสำหรับการเปลี่ยน ไฟหน้ารถ หรือดัดแปลงเองควรจะอยู่ตามกฎหมาย หรือถ้าต้องการจะเปลี่ยนเป็นไฟซีนอนก็ไม่ควรปรับดัดแปลงเป็นสีอื่นๆ นอกจากสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน และมีค่ากำลังวัตต์ที่ไม่เกินกำหนด สรุปได้ว่าการดัดแปลงไฟหน้ารถยนต์ควรอยู่ตามกฎหมายกำหนดเช่น สีขาว หรือสีเหลืองอ่อน การดัดแปลงให้มีความสว่างจ้ามากเกินกว่าปรกติ หรือปรับแสงเป็นสีต่างๆเช่น สีฟ้า เขียว แดง นั้นผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ อย่างไรก็อยากให้การใช้รถใช้ถนนควรนึกถึงเพื่อนร่วมท้องถนนด้วยเพื่อนสังคมที่ดีต่อไปครับเพราะการใช้ไฟที่มีความสว่างมากหรือมีสีต่างๆ อาจทำให้ผู้ที่ขับรถสวนมาเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตได้นะครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.autospinn.com   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

507 25 เม.ย. 2568, 23:30

ถอดรหัสสีป้ายทะเบียน รถรุ่นเดียวกันทำไมถึงใช้คนละสี?

เชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยกันว่า ทำไมป้ายทะเบียนรถจึงต้องมีหลายสี แล้วแต่ละสีนั้นมีความหมายอย่างไรบ้าง?  และบางทีรถรุ่นเดียวกันแต่ใช้ป้ายทะเบียนคนละสี? มีทั้งป้ายที่สะท้อนแสงและไม่สะท้อนแสง      วันนี้วิริยะประกันภัยจะขอพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยเหล่านี้พร้อมๆ กัน กับความหมายของสีที่ซ่อนอยู่บนป้ายทะเบียนต่างๆ จะมีสีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไป ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีเขียว หมายถึง รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ หรือ รถบรรทุกขนาดเล็ก แต่สำหรับรถกระบะบางคันที่เป็นป้ายตัวหนังสือสีดำนั้น หมายความว่า จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หากใช้ในการบรรทุกเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดกฏหมายทันที ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีน้ำเงิน หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ป้ายสีแดงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง ป้ายที่ออกให้ชั่วคราว เพื่อบ่งบอกว่ารถยนต์คันนี้ยังไม่ได้การรับรองด้วยการจดทะเบียนตามกฏหมาย ซึ่งรถคันดังกล่าวสามารถใช้งานบนถนนได้ชั่วคราว แต่ต้องอยู่ในข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟฟิค หมายถึง ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน เช่น Taxi หรือ มอเตอร์ไซค์วิน ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีแดง หมายถึง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีน้ำเงิน หมายถึง รถยนต์เล็ก 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีเขียว หมายถึง รถ 3 ล้อรับจ้าง เช่น รถตุ๊กๆ ป้ายสีเขียวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ/สีขาว หมายถึง รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า เช่น รถลิมูซีนสนามบิน ป้ายสีส้มสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถบรรทุกพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม ป้ายสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถยนต์ของผู้แทนทางการฑูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ ป้ายสีฟ้า (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีขาว แบ่งได้ 3 หมวดได้แก่         อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานฑูต         อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงศุล         อักษร อ คือ องค์กรระหว่างประเทศ       ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.viriyah.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์  Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า) โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377  อีเมล : contact@iddrives.co.th

289 25 เม.ย. 2568, 15:48


Scroll to Top